top of page

Psychological safety in the workplace

Psychological Safety เป็นหัวข้อที่พูดถึงกันมาในช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด-19 เพราะคนต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงหลายด้านพร้อมๆ กันทั้งทางร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ สังคม และในทุกมิติของชีวิตไม่ว่าจะเป็นชีวิตส่วนตัวหรือการทำงาน





อาจจะมีผู้แปล Psychological safety ในภาษาไทยไว้ว่า สภาวะความมั่นคงทางจิตใจ แต่ผมจะเรียกว่า สภาวะที่ “ใช่” เพราะการสร้างสภาวะใดๆ ให้เกิด จำเป็นต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ ไม่สามารถเลือกทำบางอย่างได้ เช่น การสร้างคุณลักษณะผู้นำให้มีความเข้าอกเข้าใจ และแสดงออกถึงความเห็นใจ แม้เป็นปัจจัยที่สำคัญแต่ไม่สามารถสร้างสภาวะที่ใช่ ให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืนได้

.

สภาวะที่ใช่ คือ ความรู้สึกมั่นใจและสบายใจของพนักงานในการพูด คิด และ แสดงออกได้อย่างมีอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ซึ่ง่จะมีส่วนสำคัญในการสร้างองค์กรที่มีสมรรถนะสูง ( High Performing Organization) เพราะสภาวะที่ใช่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและคุณภาพในการตัดสินใจที่ดี ส่งเสริมพลวัตรในการทำงานของทีม เสริมสร้างสัมพันธภาพในองค์กร บ่มเพาะนวัตกรรมให้งอกงาม ยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานให้เกิดความเป็นเลิศ เป็นต้น

สภาวะที่ใช่ ในที่ทำงาน (Psychological Safety In the workplace) แบ่งออกเป็น 4 สภาวะได้แก่

  • Safe to be included – ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และได้รับการยอมรับจากผู้อื่น

  • Safe to Learn -ความรู้สึกใช่ในการเรียนรู้ ทดลองทำสิ่งท้าทาย สามารถให้และรับฟีดแบคอย่างสร้างสรร

  • Safe to contribute – ความรู้สึกมั่นใจที่จะมีส่วนในการสร้างสรรผลงานโดยใช้ศักยภาพและความสามารถที่ของตนเองมีอยู่ให้เกิดประโยชน์

  • Safe to challenge ความรู้สึกใช่ในการคิดต่าง และเปลี่ยนแปลง

เราควรตระหนักว่า สภาวะที่ใช่ คือ ผลที่เราต้องการให้เกิด ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการสร้างปัจจัยเสริมต่างๆ ให้ทำงานสอดคล้องกัน เช่น การปลูกฝังให้ทุกคนมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ (EQ) , การสร้างภาวะผู้นำที่มีคุณภาพ, การกำหนดระบบเพื่อเสริมแรง (positive reinforcement) เป็นต้น และที่สำคัญควรนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ประกอบร่วมกับทฤษฏีและกรอบความคิดทางการบริหารองค์กรอื่นๆ เช่น การจัดทำ onboarding ให้พนักงานใหม่ , การทำงานในรูปแบบของ Hybrid Workplace , ช่วงวงจรของธุรกิจ (s-curve model) เป็นต้น



ในตัวอย่างที่นำเสนอคือการเชื่อมโยงแนวคิด Psychological Safety เข้ากับพัฒนาการของทีม ( Tuckman’s Stage of Team Development ) ที่ชี้ว่า การทำให้คนยอมรับซึ่งกันและกัน มีส่วนสำคัญในช่วง Forming และเมื่อทีมเริ่มรู้จักกัน ต่างยึดถือสิ่งที่แต่ละคนเชื่อ ดังนั้นการเปิดใจเรียนรู้ รับฟังผู้อื่น คือหัวใจสำคัญซึ่งจะทำให้ทีมก้าวข้ามความไม่ลงรอยกันไปได้ ต่อมาเมือทีมเห็นเป้าหมายร่วมกัน การมีส่วนร่วมและมีโอกาสแสดงศักภาพของแต่ละคนจะส่งผลโดยตรงต่อระดับผลงานของทีม และ แม้เมื่อทีมทำงานร่วมกันได้ดี แต่ละคนก็ควรจะมองหาโอกาสที่จะทำให้ดียิ่งขึ้นไม่ใช่พอใจแต่เพียงเท่านั้น และในการทำงานแบบ Agile Team การสลายตัวเพื่อทำภาระกิจใหม่เป็นวงจรปกติ ดังนั้นทีมจึงต้อง เรียนรู้สิ่งที่ได้ทำทั้งที่สำเร็จและผิดพลาด แสดงความขอบคุณและชมเชยสมาชิกในทีม และพร้อมที่จะรับความท้าทายใหม่ๆ ที่กำลังจะมาถึง


ขั้นตอนหลักๆ ในการสร้าง สภาวะที่ใช่ในที่ทำงาน ได้แก่

1. สร้างความตระหนักในระดับผู้บริหาร เพื่อให้การดำเนินการเป็นสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญ

2. วิเคราะห์องค์ประกอบ และ ระบบที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนในองค์รวม

3. พัฒนาทักษะและปลูกฝังทัศนคติที่เอื้อต่อการสร้างสภาวะที่ใช่

4. เชื่อมโยงพฤติกรรมต้นแบบที่ต้องการสร้าง ไปสู่กระบวนการบริหารบุคลากรอื่นๆ

5. ระบุและสื่อสารเรื่องราวความสำเร็จ (Success story) เพื่อขยายวงการรับรู้และเสริมแรงด้วยการชมเชย


1,526 views0 comments

Recent Posts

See All

コメント


bottom of page